สวัสดีชาวโลก – -‘

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | 1 ความเห็น

เชื่อกันหรือไม่นะ ลองอ่านดู

 
เพื่อนๆเชื่อหรือไม่ว่าภูเขาเอเวอร์เรสนั้นตั้งตระหง่านคอยท่าเพื่อให้เราทุกๆคนเพื่อที่
จะไปพิชิตมันเสมอ แต่มันติดอยู่แค่นิดเดียวเองคือว่ามันจะยอมให้ใครเป็นผู้พิชิตมัน
เท่านั้นเอง
 
เพื่อนๆเชื่อหรือไม่ว่า การแสดงถึงความรักและผูกพันกันอย่างวิเศษที่สุดอย่างหนึ่งที่
ไม่อาจจะปฎิเสธได้ก็คือ การที่ได้กอดกัน อย่าคิดไปไกล ก็แค่กอดกันอย่างที่ฝรั่งเขา
ทำกันเวลาที่เขาไม่ได้พบกันเป็นเวลานานๆ หรืออย่างแม่กอดลูก หรือเป็นลูกกอดแม่
หรือพ่อก็คงไม่ผิดกติกา ใครที่เคยได้กอดแม่และพ่ออย่างที่ว่าแล้วจะรู้สึกดีมากเลย
เพราะมันทำให้ครอบครัวเรารักกันทั้งแม่ พ่อ และลูกอย่างแน่นแฟ้นกันยิ่งขึ้น เสียดาย
ที่วัฒนธรรมของคนไทยไม่เน้นกัน แต่เชื่อว่าพวก Generation Next รุ่นใหม่ๆก็
กำลังให้ความสำคัญในเรื่องนี้อยู่เป็นอย่างมาก อันนี้ต้องยกนิ้วให้วัฒนธรรมอันนี้ของ
ฝรั่งมันวิเศษจริงๆ ซึ่งเขาก็ทำกันมานานแล้วด้วย
 
เพื่อนๆเชื่อหรือไม่ว่า ความโหดร้ายที่มนุษย์เราเผชิญอยู่ ไม่ต่างกับการประหัสประหาร
กันหรืออาจจะยิ่งกว่าซะอีก นั่นก็คิอความเย็นชา(Numb) ซึ่งมันโหดร้ายยิ่งกว่า
เพราะมันเป็นการทำร้ายกันทางด้านจิตใจ และยังสามารถทำให้ชีวิตของคนเราแทบ
หมดาลัยตายอยาก ถ้าได้โดนเจ้าสิ่งที่ว่านี้เข้าไป จึงไม่ควรคิดทำร้ายใครด้วยเจ้าสิ่ง
นี้ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม เพราะถ้ากรรมมันมีจริงแล้วตามทัน บทเรียนของผู้ให้
และผู้รับมันคงไม่ต่างกันแน่เลย
 
เพื่อนๆเชื่อหรือไม่ว่าการที่เราได้ตกหลุมรักใครสักคนหนึ่ง มันทำให้เราเกิดเซล์ลสมอง
ขึ้นมาใหม่ๆเป็นอันมาก เพราะเราจะรู้สึกดีที่ได้รักใครและถ้าสมหวังก็เป็นเรื่องดีอย่าง
แน่นอนเลย แต่ถ้าเป็นในมุมกลับกันล่ะ คือถ้าทุกอย่างนั้นไม่ได้รับการตอบสนองอย่าง
ที่ควรจะเป็นไปแล้ว เชื่อได้ว่าเจ้าความรักนี่มันจะหมดอายุลงทันทีภายใน 1 ปีเท่านั้น
ซึ่งไม่น่าเชื่อ แต่ก็เป็นไปแล้ว ยิ่งถ้าโดนความเย็นชาจากฝ่ายตรงข้ามด้วยแล้ว ก็จะ
เรียบร้อยโรงเรียนจีนเร็วขึ้นไปอีกอย่างมาก อาจจะถึงขั้นทำอะไรโง่ๆไปเลยก็เป็นได้
ถ้าคิดไม่ตกหรือปล่อยวางไม่เป็น อาจจะนำมาซึ่งสิ่งที่ท่านคาดไมถึง ดังนั้นอย่าล้อ
เล่นกับความรักโดยเด็ดขาด

เพื่อนๆเชื่อหรือไม่ว่า คนที่ทะเลาะกันได้ด้วยเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ไม่เป็นเรื่อง นั่นแสดงว่า

พวเขาเหล่านั้นมีความรักและความผูกพันต่อกันโดยที่แต่ละฝ่ายอาจจะไม่รู้ตัวเอง
หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีความแคร์เกิดขึ้นซึ่งกันและกันก็ได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีเพราะการ
รักกันแคร์กัน มันก็ยังดีกว่าที่จะมาโกรธกันหรือเกลียดกันว่าไหม 

เพื่อนๆเชื่อหรือไม่ว่า การที่คนเราที่เป็นคนที่รักกันแล้ว ถ้าเมื่อได้เกิดการทะเลาะเบาะ

ว้งกันด้วยเรื่องเพียงเล็กๆน้อยๆ มันจะต้องใช้เวลาในการเยียวยารักษาใจกัน เปรียบ
ได้ว่าเหมือนกับการรักษาคนที่ป่วยเป็นไข้ จะต้องใช้เวลารักษาถึง 1 วันเต็มๆ เราถึงจะ
กลับมาดีต่อกันได้ นี่แค่เรื่องเล็กๆน้อยๆนะ ถ้าเรื่องที่ใหญ่โตมันจะต้องใช้เวลากันนาน
ขนาดไหนกันนะถึงจะคืนดีกันได้ ก็ลองเปรียบเทียบกันดูเองก็แล้วกัน

เพื่อนๆเขื่อหรือไม่ว่า ถ้าเราเห็นเครื่องบินบนฟ้าแล้วเราลองเดินสวนทางกับมันดู จะมี

ความรู้สึกว่าเครื่องบินมันเหมือนจะบินช้าๆค่อยๆผ่านเราไป แต่ถ้าเราคิดที่จะเดินตาม
เครื่องบินดูบ้าง จะมีความรู้สึกเลยว่ามันบินจากเราไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าตอนที่เรา
เดินสวนทางกับมันซะอีก

เพื่อนๆเชื่อหรือไม่ว่า ถ้าเราเห็นภูเขาอยู่ข้างหน้ารถเราไกลๆ อย่างเวลาที่ไปต่าง

จังหวัด แล้วเราลองให้รถวิ่งเข้าหามันดู จะมีความรู้สึกว่า ยิ่งให้รถวิ่งเข้าใกล้มัน
เท่าใด มันกลับเหมือนยิ่งดูว่ามันจะหนีเจากเราไปไกลอีกกว่าเดิม และมันก็ดูเล้ก
ลงไปเรื่อยๆ  

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้อย่าเพิ่งเชื่อ จนกว่าเพื่อนๆจะลองได้พิสูจน์ดูว่ามันเป็นจริงหรือไม่

ใครที่ได้อ่าน ถ้าว่างกรุณา Comment กลับมาก็จะเป็นการดีมากเลย ขอบคุณนะครับ
 
 
 
ถามอะไรหน่อยกับเพื่อนๆทีแววะมา ตอบได้ก็ตอบด้วยนะ
 
ถ้าคน2คน สมมุติว่าเขามีเงินอยู่คนละ1บาท เมีอเขานำเงินของแต่ละฝ่ายมาแลกกัน
ถามว่า เมื่อพวกเขากลับไปบ้านของพวกเขา พวกเขาจะได้อะไรกลับไปบ้านบ้าง
 
แต่ถ้าหากว่าคน2คนมีความรู้อยู่กันคนละเรื่องล่ะ ถ้าเขาต่างก็นำมันมาแลกกันบ้างล่ะ

ถามว่า เมื่อพวกเขากลับไปบ้านของพวกเขา พวกเขาจะได้อะไรกลับไปบ้านบ้าง

 

 
 
 
โพสท์ใน เรื่องที่อยากเล่าให้ฟังต่อ | ใส่ความเห็น

อ่านแล้วอย่าขำ มันแฝงสิ้งที่ดีไว้ด้วยนะจะบอกให้

วันนี้ได้นำเอาสิ่งที่ดีๆที่ได้จากผู้มีความรู้ทางธรรมะ มาฝากอีกแล้ว
ลองดูนะอาจจะดูเหมือนตลกๆขำๆแต่จริงๆแล้ว
มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย

อย่าเอาหัวใจของเราไปรองรับเท้าของผู้ใดโดยเด็ดขาด
เพราะเวลาที่เขาเดินจากเราไป เราจะได้ไม่รู้สึกเจ๊บ

ต้องทำตัวหยิ่ง(แต่พองาม)เข้าไว้ เพราะถ้าเวลาที่โดน
เขาทิ้งจะได้ไม่มีใครมาหาว่าเราเป็นคนใจง่าย
 
อันนี้เป็นข้อคิดเตือนใจวียรุ่นแบบง่ายๆอย่างของวัยรุ่นเขาคิดและทำกัน
และลองดูข้อความต่อไปนี่ ที่อ้างอิงจากหลักพุทธศาสนา ที่มีข้อคิด
และข้อที่ควรนำไปปฏิบัติ  
 

จะทำสิ่งใดก็ตาม ต้องหมั่นมองตนและตัวเองอยู่เสมอว่า ตอนนี้เรา

สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ เพื่อเตือนตัวเองให้รู้เท่าทันความคิดและอารมณ์
ของเราอยู่เสมอ เมื่อ เราทันต่อสิ่งเหล่านี้แล้ว เราก็จะไม่เกิดทุกข์ใดๆ
โดยง่าย และกลับจะทำ ให้เราเข้มแข็งอดทนและมีพลังมาเอาชนะทุกๆ
สิ่งทุกๆอย่างที่ผ่านมาในชีวิตของเราได้อีกด้วย

และต้องฝึกห้ดใช้สมองด้านขวาให้มากกว่าสมองด้านซ้าย และความสุขที่
เป็นความสุขที่แท้จริงจะเกิดขึ้นอย่างประหลาด รวมถึงหมั่นทำสมาธิด้วย
เพื่อฝึกความนิ่ง มีสติ และก่อเกิดปัญญา และรู้เนื้อรู้ตัวของเราเองไว้เสมอ
เพราะถ้าเอาแต่ใช้สมองด้านซ้ายสั่งการทำโน่นนี่ตลอดอย่างทุกๆวันนี้
ก็อาจจะตกเป็นทาสของความคิดและอารมณ์ได้ ซึ่งมันจะนำมาซึ่งสิ่งที่เลว
ร้ายให้แก่ตัวของเราเองโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย ทำอะไรก็จะผิดไปซะหมด
นอกลู่นอกทาง ดันทุรังและพุ่งไปข้างหน้าโดยไม่ตรงประเดนที่เราต้องการ
อีกด้วย ทั้งที่เป็นคนเก่งฉลาดก็ยังต้องหลุดและตกม้าตายเอาได้เหมือนกัน
เพราะรู้ไม่เท่าทันความคิดและอารมณ์ของตัวเราเนั่นเอง

 
เพราะความคิดซึ่งเป็นทางด้านลบซะส่วนใหญ่นี้ มันจะฟุ้งทำให้เราคิดมาก
แต่กลับไม่มีอะไรดีหรือได้เรื่องสักอย่าง ทำให้เกิดข้อข้องใจ ลังเล และสับสน
หรือก็คือความคิดที่ไม่ตรงประเดนเอาเลย ซึ่งมันไร้แก่นสารนั่นเอง แต่เรากลับ
เชื่อว่ามันเป็นจริงเป็นจัง เพราะมันเกิดจากการปรุงแต่งทางความคิดและอารมณ์
ของเรานั่นเอง  

ตรงกันข้าม ถ้าความคิดเหล่านั้นมันเป็นทางด้านบวก ซึ่งมันจะนำพาแต่สิ่งที่ดีๆ

มาสู่เราในทุกด้านเลย และยังต้องฝึกหัดทีจะ พูดทีละคำ ฟังทีละเสียง คิดทีละเรื่อง
อีกด้วย แถมยังต้องหมั่นตรวจจิต ส่องจิต และดูจิตของเราเองอยู่เสมออีกด้วยเช่นกัน

ลองใช้วิจารณยานของท่าน ลองคิดและลองทำดู คิดว่ามันคงไม่มีอะไรค้านกับ
หลักศาสนาและวิทยาศาสตร์ เพราะศาสนาพุทธก็คือหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่

สามารถพิสูจน์ให้เห็นผลที่แท้จริงได้นั่นเอง

 

 

โพสท์ใน เรื่องที่อยากเล่าให้ฟังต่อ | ใส่ความเห็น

บทสวดมนต์ – พระคาถาโพธิบาตร

  พระคาถาโพธิบาตร

บูราพารัสสมิง พระพุทธคุณนัง
บูราพารัสสมิง พระธรรมเมตัง
บูราพารัสสมิง พระสังฆานัง
ทุกขโรคะภะยัง วิวันไชเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวันไชเย
สัพพะพลัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเต
รักขันตุ สู่รักขันตุ

อาคเนย์รัสสมิง พระพุทธคุณนัง
อาคเนย์รัสสมิง พระธรรมเมตัง
อาคเนย์รัสสมิง พระสังฆานัง
ทุกขโรคะภะยัง วิวันไชเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวันไชเย
สัพพะพลัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเต
รักขันตุ สู่รักขันตุ

ทักษิณรัสสมิง พระพุทธคุณนัง
ทักษิณรัสสมิง พระธรรมเมตัง
ทักษิณรัสสมิง พระสังฆานัง
ทุกขโรคะภะยัง วิวันไชเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวันไชเย
สัพพะพลัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเต
รักขันตุ สู่รักขันตุ

หรดีรัสสมิง พระพุทธคุณนัง
หรดีรัสสมิง พระธรรมเมตัง
หรดีรัสสมิง พระสังฆานัง
ทุกขโรคะภะยัง วิวันไชเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวันไชเย
สัพพะพลัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเต
รักขันตุ สู่รักขันตุ

ปัจจิมรัสสมิง พระพุทธคุณนัง
ปัจจิมรัสสมิง พระธรรมเมตัง
ปัจจิมรัสสมิง พระสังฆานัง
ทุกขโรคะภะยัง วิวันไชเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวันไชเย
สัพพะพลัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเต
รักขันตุ สู่รักขันตุ

พายับรัสสมิง พระพุทธคุณนัง
พายับรัสสมิง พระธรรมเมตัง
พายับรัสสมิง พระสังฆานัง
ทุกขโรคะภะยัง วิวันไชเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวันไชเย
สัพพะพลัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเต
รักขันตุ สู่รักขันตุ

อุดรรัสสมิง พระพุทธคุณนัง
อุดรรัสสมิง พระธรรมเมตัง
อุดรรัสสมิง พระสังฆานัง
ทุกขโรคะภะยัง วิวันไชเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวันไชเย
สัพพะพลัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเต
รักขันตุ สู่รักขันตุ

อิสานรัสสมิง พระพุทธคุณนัง
อิสานรัสสมิง พระธรรมเมตัง
อิสานรัสสมิง พระสังฆานัง
ทุกขโรคะภะยัง วิวันไชเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวันไชเย
สัพพะพลัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเต
รักขันตุ สู่รักขันตุ

ปฐเวรัสสมิง พระพุทธคุณนัง
ปฐเวรัสสมิง พระธรรมเมตัง
ปฐเวรัสสมิง พระสังฆานัง
ทุกขโรคะภะยัง วิวันไชเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวันไชเย
สัพพะพลัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเต
รักขันตุ สู่รักขันตุ

อากาศรัสสมิง พระพุทธคุณนัง
อากาศรัสสมิง พระธรรมเมตัง
อากาศรัสสมิง พระสังฆานัง
ทุกขโรคะภะยัง วิวันไชเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวันไชเย
สัพพะพลัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเต
รักขันตุ สู่รักขันตุ

 

  พระคาถาโพธิบาตร

 

 

โพสท์ใน บทสวดมนต์ | ใส่ความเห็น

เรื่องดีๆที่อยากจะเล่าต่อให้ฟังกัน

 
 
  แม้ว่าวันแม่แห่งชาติจะเลยมาแล้วก็ตาม แต่ก็อยาก ที่จะเอาเรื่องดีเรื่องนี้ ที่ได้ยินเขามา มาเล่าต่อให้ฟัง กัน มันดูดีและมีข้อคิด และมีการใช้สติปัญญาที่ดีด้วย และใครที่เคยได้ฟังมาแล้วก็ฟังอีกสักรอบก็ได้นะ เพราะ มันได้อะไรที่น่าคิดทีเดียว เอาล่ะนะ จะเริ่มแล้วนะ…. เรื่องก็เริ่มขึ้นมาจากครอบครัวๆหนึ่งที่มี ยาย พ่อ แม่และลูกสาว 1 คน วันหนึ่งลูกสาวซึ่งเป็นหลานของยาย ก็เกิดสงสัยว่า ทำไมทุกวันจะต้องเห็นยาย ซึ่งเป็นแม่ของแม่นั้นจะ ต้องแยกโต๊ะไปกินข้าวโดยลำพัง โดยที่แม่เขาจัดให้ ยายไปนั่งกินข้าวที่พื้น และแทนที่จะได้เป็นจานดีๆสัก ใบ แต่เพราะแม่ของหลานนั้น เขากลัวว่ายายแก่แล้ว จะงกๆเงิ่นๆแล้วจะทำจานดีๆแตกนั่นเอง ก็เลยคิดเสีย ดาย ก็เลยให้ยายทานข้าวโดยใช้กะลามะพร้าวแทน ซึ่งหลานคิดว่ายายควรน่าที่จะมานั่งร่วมโต๊ะกินข้าว ร่วมกันทั้งครอบครัวอย่างพร้อมหน้ากันและกินข้าว โดยใช้จานดีๆ และต้องมีศักดิ์ศรีที่ทัดเทียมกันถึงจะถูก เมื่อทุกคนและยายได้ทานข้าวกันเสร็จเรียบร้อย หลาน ก็เดินมาถามยายว่า "ทำไมยายไม่ไปกินข้าวร่วมโต๊ะกัน กับทุกคนล่ะคะ" ฝ่ายยายก็ตอบว่า "หลานเอ่ย ยายแก่แล้ว ถ้าไปทานข้าวร่วมโต๊ะกับทุกคน แล้วยายชอบทำข้าวหก เลอะเทอะ มันจะเป็นภาระของแม่หนูนะ" หลานก็ถามต่อ ไปว่า "แล้วทำไมแม่หนูถึงได้ให้ยายทานข้าวโดยใช้กะลา แทนที่จะเป็นจานดีๆสักใบ" ยายก็ตอบไปว่า "ยายนะ ไม่ดีเอง บางทีก็ทำจานแตกอยู่บ่อยๆ แม่หนูเลยเสียดาย แล้วรำคาญก็เลยเอากะลามาให้ยายใช้แทน" หลานฟัง แล้วก็พูดว่า "เดี๋ยวหนูจะไปบอกแม่เขาว่าให้ยายมานั่ง ทานข้าวร่วมกันบนโต๊ะ และให้ยายใช้จานดีๆเหมือนกัน กับทุกคน ในการการทานข้าวครั้งต่อไป" แล้วหลานก็ลายายไป พร้อมกับเอากะลามะพร้าวของ ยายไปโดยที่ยายไม่รู้ตัว แล้วเอาไปทำให้กะลามะพร้าว นั้นแตกจนใช้ไม่ได้ แล้วก็เอาไปซ่อนไว้ พอถึงเวลาที่จะทานข้าวครั้งต่อไป ทุกอย่างก็เป็นเหมือน เดิม แต่คราวนี้ที่ไม่เหมือนเดิมก็คือ ยายไม่มีกะลามะพร้าว จะทานข้าว พอแม่ของหลานเห็นว่ายายไม่มีกะลามัพร้าว เลยถามไปว่า "แม่และกะลามะพร้าวที่แม่ใช้ทานข้าวไปอยู้ ซะที่ไหนล่ะ" ยายก็ตอบไปว่า "ไม่รู้ซิ ก็ยังใช้อยู่เลยเมื่อ คราวที่แล้วนะ" และหลานยายซึ่งเป็นลูกของแม่ก็พูดว่า "หนูเห็นกะลามะพร้าวของยายอยู่ เดี๋ยวหนูจะไปหยิบมา ให้นะคะแม่" แล้วหลานก็วิ่งไปหยิบกะลามะพร้าวของยาย ที่ตนได้เอาไปแล้วไปทำแตกจนใช้ไม่ได้มาให้แม่ เมื่อแม่ เห็นก็ถามลูกตนเองว่า "แล้วทำไมมันถึงแตกล่ะ" ลูกสาว ก็ตอบแม่ไปว่า "หนูทำมันแตกเอง แต่ความจริงแล่วหนูควร ที่จะเก็บกะลามะพร้าวใบนี้ไว้ดีกว่า เผื่อว่าแม่อายุแก่แบบ ยายแล้ว หนูจะได้ให้แม่ทานข้าวกับกะลามะพร้าวอันนี่ เหมือนกันกับยาย" พอแม่ได้ฟังที่ลูกสาวตัวเองพูดเช่นนั้น ก็นฺ้าตาซึม แล้วก็ โผลงไปกอดยายซึ่งเป็นแม่ของตน แล้วยกตัวยายขึ้นมา นั่งทานข้าวร่วมโต๊ะเดี๋ยวกันและใช้จานดีๆ ตั้งแต่นั้นเป็น ต้นมา เรื่องที่เล่ามานี้ แสดงให้เห็นว่าหลานยาย(ลูกสาวแม่)เป็น คนที่มีสติปัญญามากเลย เพราะรู้ว่าถ้าตนไปพูดกับแม่ตรงๆ แม่ต้องไม่รับฟังตนซึ่งเป็นลูกสาวอย่างแน่นอน เลยได้ใช้อุบาย อย่างที่กล่าวมาแล้ว มาทำให้แม่ของตนเอง ยอมจำนนต่อสิ่ง ที่แม่ทำกับยาย หวังว่าท่านที่ได้อ่านจะได้ข้อคิดอะไรด๊ที่เล่ามานี่ ถ้าเล่า ผิดพลาดประการใดก็ขอโทษด้วยนะ เพราะได้ยินเขาเล่า ต่อๆกันมา เห็นว่ามีข้อคิดดีเลยเอามาเล่าเผยแพร่ให้ฟังนะ ใครที่ตอนนี้ยังมีแม่มีพ่อหรือมีผู้มีพระคุณอยู่ ก็อย่ารอช้า หรืออายที่จะทำดีต่อแม่ต่อพ่อหรือผู้มีพระคุณของเรานะ เพราะตอนนี้ถ้าท่านยังอยู่กับเราก็ควรจะทำตัวเป็นลูกหลาน ที่ดีของท่าน รัก เคารพ และดีต่อท่านให้มากๆ กอดท่าน ได้ก็กอดท่านเลย อย่าได้เขินอาย ว่าไม่เคยทำมาก่อน ยิ่งถ้าเป็นลูกสาวกอดแม่ยื่งไม่น่าอายเลย เพราะเป็นผู้หญิง เหมือนกัน แล้วก็อย่าลืมนะว่าท่านก็เคยกอดเราและปกป้อง เรามาตั้งแต่ยังแบเบาะ แล้ววันนี้เราจะไม่กอดท่านบ้างเพื่อ ให้ท่านได้อบอุ่นแล้วมีความสุขหรือ จริงอยู่การกอดกันมันไม่ได้เป็นวัฒนะธรรมของเราคนไทย แต่นี่เป็นการกอดแม่กอดพ่อหรือกอดผู้มีพระคุณของเรา แล้วจะไม่คิดที่จะทำกันหรือ แล้วจะรู้ว่าเวลาได้กอดท่านมัน จะอบอุ่นแล้วมีความสุขมากแค่ไหน อย่ารอให้ทุกอย่างมันสายเกินไป แล้วท่านจะเสียใจเพราะ ท่านเหล่านั้นไม่ได้อยู่ยืนเคียงข้างชีวิตของเราไปจนวันตาย สักวันท่านก็ต้องจากเราไป
 
 
 
 
 
โพสท์ใน หนังสือ | 1 ความเห็น

เพลงพระราชนิพนธ์

 

(Post – ๐๒๒๙-๑๐-๒๕๕๐)
(- เพลง "พ่อแห่งแผ่นดิน"-)

เพลงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้วฯ
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

 
คำร้อง  : ชาลี อินทรวิจิตร – อาจินต์ ปัญจพรรค์ – สุนทรียา ณ.เวียงกาญจน์  
              
สุรพล โทณะวณิก
ทำนอง :
เรืออากาศตรี ศ.พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ – วิรัช อยู่ถาวร
              พิมพ์ปฏิภาณ พึ่งธรรมจิตต์ – จิรวุฒิ กาญจนะผลิน  

(หญิง)

อัครศิลปิน กรองศาสตร์ กรองศิลป์ การดนตรี
ร้อยกรอง บทกวี ซึ้งกมล
ตราบฟากฟ้า ครึ้มฝน ต้นไม้ทุกต้น พลอยยินดี
รู้รักสามัคคีเพื่อพ่อแห่งไทย

(ชาย)

เหล่าประชา คารวะ สดุดี
แผ่นดินนี้ มีสุข ด้วยองค์ พระทรงชัย
บรรดาชาติชน ชื่นชม สมใจ
ถวายบังคม เทิดไท้ ภูมิพลมหาราชา

(หญิง)

ภักดีถวาย ดวงใจ ของไทยทั้งชาติ
มหาราช ปราดเปรื่อง เรื่องของกีฬา

(ชาย)

ล้ำเลิศสื่อสาร พลังงานแทนแก้ปัญหา
ฝนหลวง ฟ้าห่วงชาวนา
ชาติไทย นับว่าโชคดี

(ชายหญิง)

ทรงนำเศรษฐกิจพอเพียง หล่อเลี้ยงชีวา
เป็นปรัชญา เกริกฟ้า ก้องปฐพี
ไทยทั้งผอง ภูมิใจ ไทยเป็นไทยจนวันนี้
เพราะองค์ภูมิพลที่ คุ้มครองไทย

 

(Post – ๐๖๑๕-๐๖-๒๕๕๐)

ค้นหาขัอมูลรายละเอียด และฟังเพลงข้างล่างเหล่านี้
ได้ที่
www.hmblues.net

() เพลง คิงส์ออฟคิงส์ (ราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่)
รวมเหล่าศิลปิน จากอัลบั้ม H.M. Blues

เหนือบัลลังค์ราชันย์ ใต้ไตรรงค์ธงไทย โลกระบือลือไกล
กษัตราผู้เปี่ยมล้นพระทัยฯ คู่ครองแผ่นดินนี้….

พระฯทรงคอยปัดเป่า ทุกข์และความกังวล หลอมดวงใจปวงชน
ประหนึ่งดั่งพระนามภูมิพลฯ มหาราช เกริกไกร

โลกต่างชื่นชมพระบารมีฯ ลำศักดิ์เลิศศรีไปแดนไกล
สูงส่งทัดเทียมคู่ไทย สะดุดดีไว้ หนึ่งเดียวนี้…
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ปกครองไพร่ฟ้าด้วยความรัก ด้วยธรรม โดยแท้จริง
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่ ก้องไปทั้งฟ้าดิน
พระฯทรงครองราชย์ฯในทศพิธราชธรรม พระฯชี้นำให้มีความรักและสามัคคี
คิงส์ออฟคิงส์

พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย ทุกข์พระวรกาย เพื่อปวงชนชาวไทย
ได้อยู่บนผืนแผ่นดินร่มเย็น ยั่งยืนสืบไป

โลกต่างชื่นชมพระบารมีฯ ลำศักดิ์เลิศศรีไปแดนไกล
สูงส่งทัดเทียมคู่ไทย สะดุดดีไว้ หนึ่งเดียวนี้…
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ปกครองไพร่ฟ้าด้วยความรัก ด้วยธรรม โดยแท้จริง
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
ราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่ ก้องไปทั้งฟ้าดิน
พระฯทรงครองราชย์ฯในทศพิธราชธรรม พระฯชี้นำให้มีความรักและสามัคคี

คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์
คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์ คิงส์ออฟคิงส์

   

(Post – ๐๖๑๕-๐๖-๒๕๕๐)

() ยิ้มสู้ 
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เนื้อร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

Arranger: โกมล บุญเพียรผล
Vocals: วง IONION
วง IONION ประกอบด้วย..
อังกูร ทองสุนทร
กัยรติศักดิ์ ลายพิกุล
รณยุทธ อิงสา
มานพ จันฉิม
(วง IONION เป็นศิลปินในความเอื้อเฟื้อจาก ค่ายธิ้งทูบี)

 โลกจะสุขสบายนั้นเป็นได้หลายทาง
ต้องหลบสิ่งกีดขวางหนทางให้พ้นไป
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ
สุขและทุกข์อย่างไรเพราะใจตนเอง

 ฝ่าลู่ทางชีวิตต้องคิดเฝ้าย้อมใจ
โลกมืดมนเพียงใดหัวใจอย่าคร้ามเกรง
ตั้งหน้าชื่นเอาไว้ย้อมใจด้วยเพลง
ไยนึกกลัวหวาดเกรงยิ้มสู้

 คนเป็นคนจะจนหรือมี
ร้ายหรือดีคงมีหวังอยู่
ยามปวงมารมาพาลลบหลู่
ยิ้มละไมใจสู้หมู่มวลเภทภัย

 ใฝ่กระทำความดีให้มีจิตโสภา
สร้างแต่ความเมตตาหาความสุขสันต์ไป
จะสบความสุขสันต์สำคัญที่ใจ
เฝ้าแต่ยิ้มสู้ไปแล้วใจชื่นบาน

 

(Post – ๐๖๑๕-๐๖-๒๕๕๐)

() พรปีใหม่ (New Year Greeting) 
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เนื้อร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์            
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี

ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย

ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี

ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

 

(Post – ๐๖๑๕-๐๖-๒๕๕๐)

() มหาจุฬาลงกรณ์ (Chulalongkorn) 
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เนื้อร้อง: ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา

น้ำใจน้องพี่สีชมพู ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา
พระคุณของแหล่งเรียนมา จุฬาลงกรณ์
ขอทูนขอเทิดพระนามไท พระคุณแนบไว้นิรันดร
ขอองค์พระเอื้ออาทร หลั่งพรคุ้มครอง

นิสิตพร้อมหน้า สัญญาประคอง
ความดีทุกอย่างต่างปอง ผยองพระเกียรติเกริกไกร
ขอตราพระเกี้ยวยั้งยืนยง นิสิตประสงค์เป็นธงชัย
ถาวรยศอยู่คู่ไทย เชิดชัยชโย

 

(Post – ๐๖๑๕-๐๖-๒๕๕๐)

() แผ่นดินของเรา 
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เนื้อร้อง: ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค

Arranger: อภิสิทธิ์ วงศ์โชติ
Vocals: กานต์ จั่นทอง, อรวรรณ เย็นพูนสุข, เนตรนภา หาญโรจนวุฒิ  

• ถึงอยู่แคว้นใด ไม่สุขสำราญ
เหมือนอยู่บ้านเรา ชื่นฉ่ำค่ำเช้าสุขทวี
ทรัพย์จากผืนดิน สินจากนที
มีสิทธิ์เสรี สันติครองเมือง
เรามีป่าไม้อยู่สมบูรณ์ ไร่นาสดใสใต้ฟ้าเรือง
โบราณสถานส่งนามประเทือง เกียรติเมืองไทยขจรไปทั่วแดนไกล

• รักชาติของเรา ไว้เถิดผองไทย
ผืนแผ่นแหลมทอง รวมพี่รวมน้องด้วยกัน
รักเกียรติรักวงศ์ เสริมส่งสัมพันธ์
ทูนเทิดเมืองไทยนั้น ให้ยืนยง

 

 

   

โพสท์ใน เพลงพระราชนิพนธ์ | ใส่ความเห็น

รวมบทสวดมนต์

  
รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๒๒๖-๐๓-๒๕๕๐
(-เบื้องต้นแห่งการบูชาพระรัตนตรัยและธรรมะของผู้ครองเรือน-)
 
 (-การจุดธูป 3 ดอก-) 
 เป็นการบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ
 1. บูชาพระปัญญาคุณ
 2. บูชาพระวิสุทธิคุณ
 3. บูชาพระมหากรุณาธิคุณ
 
 
(-การจุดเทียน 2 เล่ม-) 
เป็นการบูชาพระธรรมและพระวินัย
เล่มขวาของพระพุทธรูป หรือด้านซ้ายของผู้จุดเป็นเทียนพระธรรม
เล่มซ้ายของพระพุทธรูปหรือด้านขวาของผู้จุดเป็นเทียนพระวินัย 
 
กิจวัตรประจำวัน ก่อนที่จะนั่งสวดมนต์ ควรชำระร่างกายทำจิตใจให้ผ่องใส
นุ่งขาวห่มขาว จึงจะได้มรรคผลที่แท้จริง 
   
(-วิธีไหว้พระและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก พระคาถาชินบัญชร-) 
  ก่อนเข้าห้องบูชาพระควรอาบน้ำชำระกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย
เข้านั่งที่ ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป
ระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยค่อยกราบ 3 หน
  แล้วหยุดระลึกถึงคุณบิดามารดาซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร จากนั้นจึงจุด
เทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มด้านซ้าย ต่อไป
จุดธูป เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องบูชาเสร็จแล้ว พึงนั่งคุกเข่าประนมมือตั้งใจบูชา
ด้วยคำว่า

 
 
(-คำบูชาพระรัตนตรัย-)  
  โยโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
 อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวังตัง อะภิปูชะยามิ
  โยโส สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
 อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะมามิ 
  โยโส สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
 อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
   
(-คำนมัสการพระรัตนตรัย-)
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ 
(กราบ 1 หน)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ 
(กราบ 1 หน)
สุปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ 
(กราบ 1 หน) 
   
(-คำนมัสการพระพุทธเจ้า-)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ฯ
 
(-คำนมัสการพระพุทธคุณ-)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
เป็นครูผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้
(กราบ)

(-คำนมัสการพระธรรมคุณ-)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
(กราบ)

(-คำนมัสการพระสังฆคุณ-)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
(กราบ)

 
 
  เมื่อทำตามพิธีนี้แล้ว จึงเจริญภาวนายอดกัณฑ์ไตรปิฎก-คาถาชินบัญชร
จะเพิ่มความ ความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น
   พึงทราบด้วยว่า การสวดภาวนาทุกครั้งจะมีเทพยาดาอารักษ์ทั้งหลายร่วม
อนุโมทนาสาธุการ ขออย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตนเอง.

 
 

 รวมบทสวดประจำวันเกิด – เมื่อ ๐๔๒๘-๐๓-๒๕๕๐
(-คำบูชาพระประจำวันอาทิตย์ มีกำลัง ๖-)

บทขัดโมระปริตตัง
ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง
เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะรา
จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง
พรัหมะมันตันติ อักขาตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

บทสวดโมระปะริตตัง
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนาฯ

 
 
 
 รวมบทสวดประจำวันเกิด – เมื่อ ๐๔๒๘-๐๓-๒๕๕๐
(-คำบูชาพระประจำวันจันทร์ มีกำลัง ๑๕-)
บทขัดอะภะยะปะริตตัง
ปุญญะลาภัง มะหาเตชัง
วัณณะกิตติมะหายะสัง
สัพพะสัตตะหิตัง ชาตัง
ตัง สุณันตุ อะเสสะโต
อัตตัปปะระหิตัง ชาตัง
ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

อะภะยะปะริตตัง
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ


 
 
 รวมบทสวดประจำวันเกิด – เมื่อ ๐๔๒๘-๐๓-๒๕๕๐
(-คำบูชาพระประจำวันอังคาร มีกำลัง ๘-)
 
บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง
ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

กะระณียะเมตตะสุตตัง
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฎฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฎฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ


 
 
 
 รวมบทสวดประจำวันเกิด – เมื่อ ๐๔๒๘-๐๓-๒๕๕๐
(-คำบูชาพระประจำวันพุธ(กลางวัน) มีกำลัง ๑๗-)

บทขัดขันธะปะริตตะคาถา
สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ
ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง
สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ
 
ขันธะปะริตตะคาถา
วิรูปักเข เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพ ยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ
ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี
สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ
โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ

 
 รวมบทสวดประจำวันเกิด – เมื่อ ๐๔๒๘-๐๓-๒๕๕๐

(-คำบูชาพระประจำวันพุธ(กลางคืน-พระราหู) มีกำลัง ๑๒-)
บทขัดอาฏานาฏิยะปริต
อปฺปสนฺเนหิ นาถสฺส สาสเน สาธุสมฺมเต
อมนุสฺเสหิ จณฺเฑหิ สทา กิพฺพิสการิภิ
ปริสานญฺจตสฺสนฺน มหึสาย จ คุตฺติยา
ยนฺเทเสสิ มหาวีโร ปริตฺตนฺตมฺภณาม เห.

บทสวดอาฏานาฏิยะปะริตตัง
วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง
นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
โสภีโต คุณสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระสาระถิ
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฎิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
สีขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยปุงคะโว
เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฎิโย
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา
สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง
สีหะนาทัง นะทันเตเต ปะริสาสุ วิสาระทา
พรหมจักกัง ปวัตเตติ โลเก อัปปฏิวัตติยัง
อุเปตา พุทธธัมเมหิ อัฏฐะระสะหิ นายะกา
ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธรา
พยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา
พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา
มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา
ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง
คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน
สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา
เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม
วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง
เตหิ ตะวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต
สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะฯ
เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จ
ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
อุตตะรัสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯ


 

 รวมบทสวดประจำวันเกิด – เมื่อ ๐๔๒๘-๐๓-๒๕๕๐
(-คำบูชาพระประจำวันพฤหัสบดี มีกำลัง ๑๙-)

บทขัดธชัคคะปริตต์
ยัสสานุสสรเณนาปิ อนฺตลิกฺเขปิ ปาณิโน
ปติฏฐมธิคจฺฉนฺติ ภูมิยัง วิย สพฺพทา
สพฺพุปทฺทวชาลมฺหา ยกฺขโจราทิสมฺภวา
คณนา น จ มุตฺตานํ ปริตฺตนฺตมฺภณาม เหฯ

บทสวดธัคคะปริตต์
เอวะ เม สุตตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขุ อามันเตสิ ภิกขะโวติ. ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ
ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุรสังคาโม สมุปัพยุฬโห อะโหสิ. อถ โข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคามัคตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุโลเกยยาถะ มะมัง หิ โวธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ. โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ. โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อีสานัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติ. ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ ปชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วาเทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปหิยเยถะ ตัง กิสสะ เหตุ? สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภีรุ ฉัมภี อุตตตะราสี ปะลายีติ อหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหัง โส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อะนุสสะเรยยาถะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา ติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ
โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมหังโส วา โส ปหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ? ตะถาคะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภีรุ ฉัมภี อุตตตะราสี ปะลายีติ.

อิทมโวจะ ภะคะวา อิทัง วัตวานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา อรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง เอวัง พุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง าา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ


 รวมบทสวดประจำวันเกิด – เมื่อ ๐๔๒๘-๐๓-๒๕๕๐
(-คำบูชาพระประจำวันศุกร์ มีกำลัง ๒๑-)
 

บทขัดธชัคคะปริตต์
ยัสสานุสสรเณนาปิ อนฺตลิกฺเขปิ ปาณิโน
ปติฏฐมธิคจฺฉนฺติ ภูมิยัง วิย สพฺพทา
สพฺพุปทฺทวชาลมฺหา ยกฺขโจราทิสมฺภวา
คณนา น จ มุตฺตานํ ปริตฺตนฺตมฺภณาม เหฯ

บทสวดธัคคะปริตต์
เอวะ เม สุตตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขุ อามันเตสิ ภิกขะโวติ. ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ

ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุรสังคาโม สมุปัพยุฬโห อะโหสิ. อถ โข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคามัคตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุโลเกยยาถะ มะมัง หิ โวธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ. โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ. โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อีสานัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติ. ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ ปชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วาเทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปหิยเยถะ ตัง กิสสะ เหตุ? สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภีรุ ฉัมภี อุตตตะราสี ปะลายีติ อหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหัง โส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อะนุสสะเรยยาถะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา ติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ

โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมหังโส วา โส ปหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ? ตะถาคะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภีรุ ฉัมภี อุตตตะราสี ปะลายีติ.

อิทมโวจะ ภะคะวา อิทัง วัตวานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา อรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง เอวัง พุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง าา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ

 
 รวมบทสวดประจำวันเกิด – เมื่อ ๐๔๒๘-๐๓-๒๕๕๐

(-คำบูชาพระประจำวันเสาร์ มีกำลัง ๑๐-)

บทขัดอังคุลิมาละปะริตตัง
ปะริตตัง ยัมภะณันตัสสะ นิสินนัฏฐานะโธวะนัง
อุทะกัมปิ วินาเสติ สัพพะเมวะ ปะริสสะยัง
โสตถินา คัพภะวุฎฐานัง ยัญจะ สาเธติ ตังขะเณ
เถรัสสังคุลิมาลัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง
กัปปัฎฐายิ มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

อังคุลิมาละปะริตตัง
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะฯ
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะฯ
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะฯ


 รวมบทสวดประจำวันเกิด – เมื่อ ๐๔๒๘-๐๓-๒๕๕๐
(-คำบูชาพระประจำพระเกตุ มีกำลัง ๙-)
 
บทขัด ชยปริตฺตํ
ชยํ เทวมนุสฺสานํ ชโย โหตุ ปราชิโต
มารเสนา อภิกกนฺตา สมนฺตา ทวาทสโยชนา
ขนฺติเมตตาอธิฎฺฐานา วิทธงฺเสตวาน จกฺขุมา
ภวาภเว สงฺสรนฺโต ทิพฺพจกฺขุ วิโสธยิ
ปริยาปนฺนาทิโสตฺถานํ หิตาย จ สุขาย จ
พุทธกิจฺจํ วิโสเธตวา ปริตตนฺตมฺภณาม เหฯ

ชะยะปะริตตัง
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฎฐิตัง
สุกขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
โส อัตถะลัทโธ สุขิโต วิรุฬโห พุทธะสาสะเน
อะโรโค สุขิโต โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
สา อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
อะโรคา สุขิตา โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิฯ

 
 
 
 รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๕๒๙-๐๓-๒๕๕๐
(-บทสวด คาถาพระแม่กวนอิม-)

นำโมไต๋ซื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง
กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิม ผู่สัก
(กราบ)
นำโมไต๋ซื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง
กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิม ผู่สัก
(กราบ)
นำโมไต๋ซื้อ ไต๋ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง
กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิม ผู่สัก
(กราบ)
นำโมฮู๊ก นำโมหวบ นำโมเจ็ง
นำโมกิ้วโค่ว กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก
ทั่งจี้โต โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต
เกียออฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซำผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง
หลั่งลี่ซิง เจ็กเฉียก ใจเอียงห่วยอุ่ยติ๊ง
นำโมม่อออปวกเยี่ยปอล้อบิ๊ก
(กราบ) 

 

 รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๓๒๗-๐๓-๒๕๕๐
(-คำอาราธนาพระปริตร-)  
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะมังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะมังคะลัง
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะมังคะลัง

 

 
รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๓๒๗-๐๓-๒๕๕๐
(-บทสวดชัยมงคลคาถา-) 

 พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนา ฬะวะกะมัก ขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิ จักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถัง คุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะที ปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เภระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะ เทสะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ 
 
 
 
 
 รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๓๒๗-๐๓-๒๕๕๐
(-ธรรมจักร์-)
ภุมมานังเทวานัง สัททัง สุตตะวา
จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
พรัหมะ กายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
พรัหมะ กายิกานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
พรัหมะ ปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
พรัหมะ ปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
พรัหมะ ปุโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
พรัหมะ ปุโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
มะหาพรหมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
มะหาพรหมมานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
อสัญญสัตตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
อสัญญสัตตานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา
อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เอตัม ภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติ ยัง
สะมะเณนะวา พรหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา
พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสสะมันติ

 

 รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๕๒๙-๐๓-๒๕๕๐
(-คำอธิษฐาน ภาษาไทยโบราณ-)
 
ขอเดชะบุญ ตั้งจิตเจตนา ศรัทธาเปรมปรีย์
ชื่อว่าเข็ญใจ อย่าได้เกิดมี แก่ตัวข้านี้ จนถึงนิพพาน
ทุกข์โศกโรคภัย อับปรีย์จัญไร อย่าได้แผ้วพาน
ขอให้ชมชื่น ข้ายืนยาวนาน ได้บวชลูกหลาน ได้การกุศล
อุปัจเฉทะกะกรรม อย่าได้ครอบงำ เข้าจลาจล
เมื่อข้าดับจิต ชีวิตวายชนม์ เดชะกุศล ช่วยแนะนำไป
เมื่อข้าดับจิต ขอให้เนรมิต บังเกิดเร็วไว
ให้ได้วิมาน ยวดยานสุกใส สุมทุมเปลวไฟ อย่าได้เกิดมี
แม้นถือกำเนิด กลับชาติมาเกิด ให้สูงศักดิ์ศรี
ในวงศ์ประยูร สกุลผู้ดี ขัตติยะเมธี มั่งมีเงินทอง
แก้วแหวนแสนทรัพย์ เนืองนองสมบัติ อย่าได้อาทร
สมใจทุกอย่าง พงศ์เผ่าพวกพ้อง วงศ์ญาติพี่น้อง พรั่งพร้อมบริบูรณ์
บิดามารดา อยู่ในศีลห้า ศีลแปดพร้อมมูล
เมื่อยังไม่ได้ ขอให้ใจบุญ ผลธรรมอนุกูล มโนเปรมปรีด์
เกิดชาติใดใด ห่างทุกข์ห่างไข้ ขอใจยินดี
ศีลห้าประการ ผลทานบารมี สมบัติมากมี ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ดวงจิตอิจฉา โทโสโกรธา โมโหหลงใหล
ขอจงห่างสิ้น มลทินอันใด จงหลีกหนีไกล จากกิเลสสันดาน
อะเสวะนา พระเจ้าเทศนา พาลาอหังการ
อย่าได้เกิดร่วม เคหะสถาน ขอพบเมธาจารย์ ผู้มีปัญญา
ให้เป็นประโยชน์ รู้แจ้งในโสต คุณโทษโทษา
ข้าคิดสิ่งใด จงเป็นวาจา เผยพจน์ออกมา ถูกต้องบาลี
ปราศจากมุสา ให้เป็นสัมมา กล่าวคำวาที

 

 รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๕๒๙-๐๓-๒๕๕๐
(-บทปลงสังขาร-)
 
โอ้ว่าอนิจจาสังขารเอ๋ย มาลงเอยสิ้นสุดหยุดเคลื่อนไหว
เมื่อหมดหวังครั้งสุดท้ายไม่หายใจ ธาตุลมไฟน้ำดินก็สิ้นตาม
นอนตัวแข็งและสลดเมื่อหมดชีพ เขาตราสังใส่หีบสี่คนหาม
สู่ป่าช้าสิ้นเชื้อเหลือแต่นาม ใครจะถามเรียกเขาก็เปล่าตาย
นี่แหละหนอมนุษย์เรามีเท่านี้ หมดลมแล้วก็ไม่มีซึ่งความหมาย
วิญญาณปราศขาดลับดับจากกาย หยุดวุ่นวายทุกทุกสิ่งนอนนิ่งเลย
เมื่อชีวิตเรานี้มีลมอยู่ จงเร่งรู้ศีลทานนะท่านเอย
ทั้งภาวนาทำใจหัดให้เคย อย่าละเลยความดีทุกวี่วัน
เมื่อสิ้นลมจิตพรากจากโลกนี้ จะได้พาความดีไปสวรรค์
อย่าทำบาปน้อยนิดให้ติดพัน เพราะบาปนั้นจะเป็นเงาตามเราไป
สู่นรกอเวจีที่มืดมิด สุดที่ใครจะตามติดไปช่วยได้
ต้องทนทุกข์สยดสยองในกองไฟ ตามแต่กรรมของผู้ใดที่ได้ทำ
หมั่นสวดมนต์ภาวนารักษาศีล สอนลูกหลานให้เคยชินทุกเช้าค่ำ
ให้รู้จักเคารพนบพระธรรม อย่าลืมคำที่พระสอนวอนให้ดี
เราเกิดมาเพื่อตายมิใช่อยู่ ทุกทุกคนจะต้องสู่ความเป็นผี
เมื่อเกิดมาเป็นคนได้ทั้งที ก็ควรสร้างความดีติดตัวไป
เพื่อจะได้เป็นสุขไม่ทุกข์ยาก ไม่คับแค้นลำบากเมื่อเกิดใหม่
ใครทำดีย่อมสุขแท้จงแน่ใจ ใครทำชั่วทุกข์ยากไร้ ย่อมถึงตน
เร่งบำเพ็ญทานศีลและภาวนา แสวงหาแต่สิ่งบุญกุศล
ทรัพย์ภายนอกเป็นของโลกโศกระคน ทรัพย์ภายในประดับตนพ้นทุกข์เอย

 

 รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๕๒๙-๐๓-๒๕๕๐
(-คำอธิฐานอโหสิกรรม-)

ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม กรรมใดที่ทำแก่ผู้ใดในชาติใด ๆ ก็ตาม
ขอให้เจ้ากรรมและนายเวร จงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า
อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย
แม้แต่กรรมที่ใคร ๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม
ให้ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน
เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้
ขอให้ข้าพเจ้า ครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงษาคณาญาติ
และผู้อุปการะคุณของข้าพเจ้า มีความสุข ความเจริญ
ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญฯ

 

 รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๕๒๙-๐๓-๒๕๕๐
(-แผ่เมตตา-)


พุทธัง อนัตตัง ธัมมัง จักกะราวัง สังฆัง นิพพานัง
ข้าพเจ้าขอแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ให้แก่บรรดาสัตว์ที่มี ดิน น้ำ ลม ไฟ
บิดามารดา ญาติกาทั้งหลาย จงมารับเอาส่วนกุศลผลบุญ
ของข้าพเจ้าในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
นิพพานะปัจจะโยโหตุ

 

 รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๕๒๙-๐๓-๒๕๕๐
(-แผ่เมตตาให้ตนเอง-)


อะหัง สุขิโต โหมิ, นิทุกโข โหมิ,
อะเวโร โหมิ, อัพยา ปัชโฌ โหมิ,
อะนีโฆ โหมิ, อะโรโค โหมิ,
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
ขอให้ตัวของเราเอง จงมีความสุข ปราศจากทุกข์
ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความความเบียดเบียน
ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความลำบาก
ปราศจากโรคภัย รักษาตนอยู่เถิด

 

 รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๕๒๙-๐๓-๒๕๕๐
(-บทแผ่ส่วนกุศล-)

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า
ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้า มีความสุข
อิทัง เม ญาตะกานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะกา
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า
ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า มีความสุข
อิทัง เม ครุปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ครุปัชฌายาจริยา
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า
ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า มีความสุข
อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเปตา
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย
ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย มีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความสุข

 

 รวมบทสวดมนต์ – เมื่อ ๐๕๒๙-๐๓-๒๕๕๐
(-คำภาวนา เพื่อให้จิตเข้าสู่สมาธิได้รวดเร็ว-)

เมต ตา ลา โภ นะ โส มิ ยะ อะ หะ พุท โธ

 

โพสท์ใน บทสวดมนต์ | 2 ความเห็น

(1) ก่อนนี้เคยฝันบ่อยๆว่าเดินหาทางกลับบ้านไม่ถูกซะที

  
(1) ก่อนนี้เคยฝันบ่อยๆว่าเดินหาทางกลับบ้านไม่ถูกซะที – 0403-1407
  เมื่อก่อนนี้ชอบฝันว่าไม่สามารถจะเดินทางกลับบ้านได้เลย
ยิ่งเดินก็ยิ่งหลง ยิ่งเดินก็ยิ่งหลง และจะเป็นการใช้เท้าเดินด้วย
ไม่มีการขึ้นรถหรือสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆทั้งสิ้น ทั้งๆที่
ความเป็นจริงแล้วบ้านของเราเองแท้ๆ มันน่าที่จะหลับตาเดิน
ก็ต้องกลับบ้านได้แน่นอน แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้นเลย ซึ่งก็ไม่
เข้าใจ
  แม้ว่าในฝันนั้นจะผ่านสถานที่ต่างๆที่ไม่เคยพบและเคยพบ
จริงบนโลกใบนี้ และยังเคยเห็นด้วยว่ามีคนเดินกันอยู่ผลุกผล่าน
ในสถานที่ที่มีจริงๆ แต่ในฝันมันกลับมีคนเดินอยู่เพียงคนสองคน
บางทีก็เดินไปเจอทางแยกที่ต้องตัดสินใจว่าจะไปทางไหนดี
และยังเจอคนที่ทางแยกนี้ด้วย ซึ่งบางคนตรงนั้ก็เดินไปโดยไม่
คิดที่จะตัดสินใจอะไรเอาเลย
   บางครั้งก็เจอพระ วัด และพระพุทธรูปในฝันนั้น และบางครั้งก็ดู
จะน่ากลัวมาก และบางครั้งก็ไม่เข้าใจว่ามีสิ่งเหล่านี้ในฝันเพื่ออะไร
คืองงมากเลย 
  และที่แน่ๆในการเดินกลับบ้านนี่ทุกครั้งในฝันจะต้องมีการพบ
เจอกับอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับนํ้าเข้ามาร่วมอยู่ด้วยเสียทุกครั้งไป
ซิน่า ไม่ว่าจะนํ้าท่วมหรือฝนตกหนัก และถ้าเป็นนํ้าท่วม นํ้าที่ท่วม
นั้นมันจะมีสีเขียวเหมือนกับสีนํ้าในมหาสมุทร ก็ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่
ได้อยู่ในฝันและที่กล่าวมาทั้งหมนี้มันหมายถึงอะไรในขณะนั้น
แต่ก็ยังเป็นฝันที่จำมันได้ไม่เคยลืม ทั้งที่น่าจะลืมเมื่อตื่นนอนจาก
ฝันขึ้นมาแล้ว แถมบางทียังฝันซำอีก หรือต่อเนื่องเป็นตอนหนึ่ง
ตอนสอง(อย่างกับดู VCD เลย)
  แต่เดี๋ยวนี้ก็ไม่เคยฝันแบบนี้อีกแล้ว ซึ่งอาจจะหมายความว่าเรา
คงแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้นได้เรียบร้อยแล้วก็เป็นได้ (ไม่ได้นึก
เข้าข้างตัวเองเลยนะ)
  พอมาตอนนี้ก็ลองมานึกทบทวนดูว่าทำไมถึงฝันเช่นนี้บ่อยๆเมื่อ
ก่อนนี้ ก็เลยคิดได้ว่าในฝันมันคือลางบอกเหตุในตัวเราว่าเรากำลัง
หลงทางทำอะไรที่ผิดในชีวิตของเราอยู่หรือเปล่านั่นเอง แต่มาคิด
ได้เอาตอนนี้อะไรบางเรื่องมันก็สายไปแล้วที่จะแก้ไข แต่ก็มีบาง
เรื่องที่ได้แก้ไขได้ทันท่วงที
  แต่ก่อนก็ไม่เคยเชื่อเรื่องความฝันซึ่งเป็นลางบอกเหตุ เพราะคิด
ว่าฝันก็คือฝัน มันไม่น่าจะเป็นจริงไปได้ แต่ตอนนี้ก็เชื่อแล้วว่ามัน
เป็นจริง เพราะฝันนี้มันติดอยู่ในใจไม่เคยลืมมันเลย
  ไม่เพียงแต่ฝันแบบนี้ แม้ว่าจะเป็นฝันแบบอื่นๆก็น่าจะเป็นลาง
บอกเหตุได้เช่นกัน อันนี้ก็สุดแล้วแต่ว่าใครจะพบเจอ ถ้าใครเจอ
ก็จะเชื่อ ถ้าใครไม่เจอก็จะไม่เชื่อ
  ที่เล่ามานี่ก็อยากจะบอกว่าถ้าใครเคยฝันแบบนี้ก็ให้ลองสำรวจ
ตัวเองว่าเรากำลังทำอะไรผืดในชีวิตจริงของเราเองอยู่หรือเปล่า
ถ้าค้นได้เจอแล้ว และถ้าไม่สายเกินจะแก้ไขก็ควรที่จะแก้ไข อย่า
ปล่อยให้มันเลยตามเลยผ่านไป เพราะบางทีมันอาจจะกลายเป็น
แผลในใจเราในวันหลังก็ได้ จริงอยู่วันนี้เราอาจจะไม่รู้สึกหรอก
เพราะเรามีอัตตาสูง แต่ถ้าเรามีอายุมากขึ้น เราจะรู้เลยว่าสิ่งต่างๆมัน
จะถูกผลุดขึ้นมาในชืวิตเรา และถ้ามันไปจุดใต้ตำตอตรงเรื่องที่เขา
เคยได้มาเตือนเราแล้ว แล้วเราละเลยไปล่ะ คิดว่าวันนั้นต้องเสียใจ
อย่างแน่นอน
  เพราะโลกแห่งความจริง บางครั้งสิ่งดีๆที่ผ่านมาถึงเราแล้ว แต่เรา
ทำไม่สนใจ บางทีสิ่งดีๆเหล่านี้มันอาจจะไม่เวียนวนมาพบกับเราอีก
ก็ได้ เพราะสิ่งดีๆมันไม่ใช่หนังเรื่องเก่าที่มีโอกาสเวียนกลับมาฉาย
ใหม่ได้ แต่ถ้าใครมีโอกาสได้สิ่งดีๆกับมาสู่เราอีกครั้ง ก็ควรจะรีบรับ
มันไว้และอย่าได้ละเลยมันอย่างที่มันเคยมาถึงเราในหนแรก
 
ลองตีตวามฝันของตัวเองที่ว่ามาแล้วนี้ดู ก็น่าจะได้เป็นดังนี้…
การเดินทางกลับบ้านไม่ถูก = หลงทางหรือทำอะไรที่ผิดอยู่ในชีวิตจริงอย่างแน่ๆเลย
 
ยิ่งเดินก็ยิ่งหลง ยิ่งเดินก็ยิ่งหลง = ทำผิดแล้วก็ยังทำผิดอีกอยู่นั่น ไม่คิดที่จะแก้ไข
หรืออาจจะหาทางแล้ว แต่ไม่มีทางออกให้เราเลยก็เป็นได้ทั้งในฝันนั้นและเรื่องจริง
 
เดินด้วยเท้า = ถ้าทำผิดหรือต้องการแก้ไข ต้องทำด้วยตัวของเราเองเท่านั้น คือ
ทุกอย่างมันเริ่มขึ้นที่ตัวของเราเอง มันก็ต้องจบลงที่ตัวของเราเองเช่นกัน
 
ไม่มีรถหรือสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆทั้งสิ้น = ไม่มีความช่วยเหลือใดๆทั้งสิ้น
ทั้งการทำผิดหรือจะการแก้ไขความผิดที่ทำตรงนั้น
 
สถานที่ที่ไม่เคยพบ = หลงเดินทางผืดทั้งๆที่เราไม่เคยทำหรือไม่รู้ตัวมาก่อน
 
สถานที่ที่เคยพบจริงแต่กับมีคนเดินเพียงคนสองคน = ในการหลงผิดทั้งๆที่รู้อยู่
นั้น ก็ยังมีคนทีหลงผิดอย่างเราก็เพียงแค่คนหรือสองคนเท่านั้นเอง
 
เดินไปเจอทางแยกที่ต้องตัดสินใจ = เป็นหนทางที่เป็นทางออกสำหรับผู้ที่หลงผิด
แต่จะต้องเลือกทางให้ถูกต้อง ซึ่งเราก็ไม่มีทางรู้ว่ามันถูกต้องหรือเปล่า แต่ยังดีที่
มีทางให้เลือกเดิน อันนี้ก็สุดแล้วแต่บุญกรรมของเราเอง ถ้าเลือกผิดก็ถลำผิดไป
อีก แต่ถ้าเลือกถูกมันก็จะค่อยๆพบทางกลับบ้านของเราเองจนได้
 
บางคนที่พบทางแยกนั้ก็เดินไปโดยไม่คิดที่จะตัดสินใจอะไรเอาเลย = หลงผิดแล้ว
ไม่คิดจะเลือกทางเดินเพื่อเป็นการกลับลำมาให้ถูกต้องนั่นเอง ยังทำไปทั้งที่รู้ว่าผิด
หรือบางทีอาจจะไม่อยากคิดแล้วเพราะถอดใจไปแล้ว อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดนั่นเอง
 
บางครั้งก็เจอพระ วัด และพระพุทธรูปในฝันนั้น แต่ดูน่ากลัวมาก = เราได้ทางออก
แห่งชีวิตโดยใช้หลักธรรมะเข้าช่วย ถ้ากลับตัวกลับใจได้ก็จะหาทางกลับบ้านได้แน่
นอน
ที่ว่าน่ากลัวมาก = แสดงว่าเราอาจจะทำผิดมากในชีวิตจริงขณะนั้นก็เป็นได้ เพราะ
พระ วัด และพระพุทธรูป ในโลกแห่งความเป็นจริงต้องน่าศรัทธาเลื่อมใสมากกว่า
ที่จะน่ากลัวจนตัวสั่น คิดว่าท่านคงมาเตือนเราแน่นอนเลย
 
มักพบเจออุปสรรคนํ้าท่วม หรือ ฝนตกหนัก = อุปสรรคที่มีเกิดขึ้นในฝันนั้น มันดูออ่น
ไหวแต่กับหนักหน่วงและยุ่งยากเวลาที่จะแก้ไข เพราะนํ้ามันดิ้นไปได้ทุกๆสถานการณ์ 
 
นํ้าที่ท่วมนั้นมันจะมีสีเขียวเหมือนกับสีนํ้าในมหาสมุทร = มันมีปํญหาที่ใหญ่หลวง
ที่เรากำลังหลงผิดอยู่ตรงนั้นนั่นเอง แล้วเราจะเอาตัวเรารอดพ้นจากปัญหาที่ตรงนั้น
ได้หรือเปล่าโดยที่ไม่มีความช่วยเหลือใดๆทั้งสิ้น ตรงนี้นึกถึงเพลงเก่าของ Simon
and Garfunkgel – Bridge Over Trouble Water (สะพานข้ามห้วงมหรรณพ)
 
 
 
Bridge Over Trouble Water (สะพานข้ามห้วงมหรรณพ)
 
When you’re weary, feeling small
When tears are in your eyes, I will dry them all
I’m on your side when times get rough
And friends just can’t be found
 
[Chorus]
Like a bridge over troubled water
I will lay me down
Like a bridge over troubled water
I will lay me down
 
When you’re down and out
When you’re on the street
When evening falls so hard
I will comfort you
I will take your part when darkness comes
And pain is all around
 
[Chorus]
 
Sail on silver girl
Sail on by
Your time has come to shine
All your dreams are on their way
See how they shine
If you need a friend
I’m sailing right behind
 
[Chorus]
 
 
 
เรื่องนี้ขอจบแค่นี้ก่อน เดี๋ยวมีเวลาจะมาเขียนฝันเรื่องใหม่ต่อ
 
ท่านผู้ใดที่ได้อ่าน Blog ข้างบนนี้แล้ว กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ อยากรู้ว่าพวก
ท่านมีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับความฝันซึ่งเป็นลางบอกเหตุนี้ หรือถ้าท่านมีฝันทำนองเดียว
กันจะมาเล่าสู่กันฟัง ก็เชิญเลยนะครับ ถือว่าแบ่งปันความรู้จากประสพการณ์กัน
 
 
 
โพสท์ใน ฝันที่เป็นลางบอกเหตุ | 1 ความเห็น